ชมรมกระบี่กระบอกและมวยไทย บดินทรเดชา2
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สมรรถภาพทางกาย หน้า 4

Go down

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  สมรรถภาพทางกาย หน้า 4 Empty หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สมรรถภาพทางกาย หน้า 4

ตั้งหัวข้อ  Admin Tue May 03, 2011 8:50 pm

ของกล้ามเนื้อที่จะช่วยให้ร่างกายทรงตัวต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลกได้โดยอ้อม เป็นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน เช่น การวิ่ง การกระโดด การเขย่ง การกระโจน การกระโดดขาเดียว การกระโดดสลับเท้า เป็นต้น ความแข็งแรงอีกชนิดหนึ่งของกล้ามเนื้อเรียกกว่า ความแข็งแรงเพื่อเคลื่อนไหวในมุมต่างๆ เพื่อเล่นเกมกีฬา หรือใช้ในการปา การขว้าง การตี เป็นต้น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในการเกร็ง เป็นความสามารถของร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายในการต้านทานแรงที่มากระทำจากภายนอก โดยไม่ล้มหรือสูญเสียการทรงตัวไป


1.2 ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) ความสามารถของกล้ามเนื้อใน
การออกแรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือหลายครั้งติดต่อกันได้ ความอดทนของกล้ามเนื้อสามารถเพิ่มได้มากขึ้นโดยการเพิ่มจำนวนครั้งในการปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ เพศ ระดับสมรรถภาพทางกายของเด็ก และชนิดของการออกกำลังกาย


1.3 ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ (Cardiorespiratory Endurance) หมายถึง ความสามารถของหัวใจ ปอด และหลอดเลือดในการลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังกล้ามเนื้อที่ใช้ในการออกแรง และขณะเดียวกันก็นำสารที่ไม่ต้องการ ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการทำงานของกล้ามเนื้อออกจากกล้ามเนื้อที่ใช้การออกแรง ในการพัฒนาหรือเสริมสร้างนั้น เด็กจะต้องมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่น การวิ่ง กระโดด โดยใช้เวลาติดต่อกันครั้งละประมาณ 10 – 15 นาที


1.4 ความอ่อนตัว (Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ
ของร่างกาย ให้เต็มขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวนั้นๆ การพัฒนาด้านความอ่อนตัวทำได้โดยการยึดเหยียดกล้ามเนื้อ และเอ็น หรือการใช้แรงต้านทานให้กล้ามเนื้อและเอ็นต้องทำงานมากขึ้น การยึดเหยียดของกล้ามเนื้อ ทำได้ทั้งแบบอยู่กับที่หรือมีการเคลื่อนที่ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรใช้การเหยียดของกล้ามเนื้อในลักษณะอยู่กับที่นั้นก็คือ อวัยวะส่วนแขนและขาหรือลำตัว จะต้องเหยียดจนกว่ากล้ามเนื้อจะรู้สึกตึง และจะต้องอยู่ในท่าเหยียดกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ประมาณ 10 – 15 นาที


1.5 องค์ประกอบของร่างกาย (Body Composition) จะเป็นดัชนีประมวลที่ทำให้ทราบถึงเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักที่เป็นส่วนของไขมันที่มีอยู่ในร่างกาย ซึ่งอาจจะหาคำตอบที่เป็นสัดส่วนกันได้ระหว่างไขมันในร่างกายกับน้ำหนักของส่วนอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบ เช่น ส่วนของกระดูก กล้ามเนื้อ
อวัยวะต่างๆ การรักษาองค์ประกอบในร่างกายให้อยู่ในระดับเหมาะสมจะช่วยทำให้นักเรียนไม่เป็นโรคอ้วน ซึ่งโรคอ้วนจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นโรคที่เสี่ยงอันตรายต่อไปอีกมาก เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจวาย และโรคเบาหวาน เป็นต้น สำหรับการหาองค์ประกอบของร่างกายนั้น จะกระทำโดยการวัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง (Skinfold thickness) โดยใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า (Skinfold caliper)

Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 203
Join date : 03/05/2011

http://krabikrabongbd2.forumth.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ